ภัยร้ายทำลายสิ่งแวดล้อม

รู้หรือไม่ว่า การสูบบุหรี่มวน และ  พอท บุหรี่ไฟฟ้า ไม่ได้ส่งผลร้ายต่อตัวคุณเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อคนรอบข้าง ยังพบว่ากระบวนการที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่มวน และ  พอท บุหรี่ไฟฟ้า ในทุกขั้นตอนยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นจึงทำให้มีการจัดงาน วันงดสูบบุหรี่โลก ขึ้นมา เพื่อณรงค์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากยาสูบ และให้ทุกคนหันมารักสุขภาพตัวเรา คนในครอบครัว และคนที่คุณรักนั่นเอง

เนื่องในวันงดสูบบุหรี่โลก 31 พฤษภาคมของทุกปี ในปีนี้อนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดประเด็นรณรงค์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากยาสูบ เพื่อสร้างความตระหนักถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากวงจรการปลูก การผลิต การจัดจำหน่ายยาสูบ ของเสีย และขยะที่เกิดจากการสูบบุหรี่มวน และ  พอท บุหรี่ไฟฟ้า โดยก่อให้เกิดความเสียหายทั้งแก่สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ โดยมีการประมาณการว่าความสูญเสียทางสุขภาพและเศรษฐกิจที่เกิดจากการสูบบุหรี่นั้น ที่มีมูลค่าสูงถึง 3.5 แสนล้านบาทต่อปี เทียบเท่ากับ ร้อยละ 2.1 ของ GPD

ข้อเสนอเชิงนโยบายของการรณรงค์วันงดสูบบุหรี่ 2565

1. สร้างความตระหนักถึงผลกระทบของผลิตภัณฑ์ยาสูบต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการผลิต หีบห่อ หรือการบริโภคที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อม เป็นสิ่งจำเป็นให้ทุกภาคส่วนสร้างการรับรู้และตระหนัก เพื่อให้ทราบถึงผลกระทบที่เกิดจากบุหรี่มวน และ  พอท บุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งไม่ใช่เพียงแต่กระทบต่อตัวเอง แต่สามารถกระทบกับทุกคนบนโลกใบนี้

2. ผลักดันให้ท้องถิ่น มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและดำเนินงานในพื้นที่ โดยอาจจะผ่านกลไกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

3. การท่องเที่ยวแบบวิถีใหม่ปลอดบุหรี่มวน และ  พอท บุหรี่ไฟฟ้า เป็นสิ่งสำคัญประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยว เจ้าของสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ในการควบคุม

4.ปรับปรุงและยกระดับการบังคับใช้กฎหมาย เช่น คำสั่งกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเป็นตัวอย่างได้ดี แต่ต้องมีเรื่องการบังคับใช้กฎหมายให้ดีด้วย หรือต้องทำให้เข้าใจเรื่องฟอกเขียวที่เขาพยายามจะสร้างภาพลักษณ์แต่จริงๆ มีผลกระทบในทุกกระบวนการ

5.สนับสนุนให้เกษรตรกรผู้ปลูกยาสูบเปลี่ยนไปปลูกพืช

6.ประสานความร่วมมือหน่วยงานภาครัฐ เอกชนและภาคประชาชนต้องร่วมมือกันขับเคลื่อน เพื่อร่วมกันสร้างสังคมไทยให้ปลอดควันบุหรี่มวน และ  พอท บุหรี่ไฟฟ้า

ทั้งนี้ บุหรี่มวน และ  พอท บุหรี่ไฟฟ้า ยังมีสารเคมีกว่า 4,000 ชนิดปนเปื้อนลงสู่ดิน โดย 70 ชนิดเป็นสารก่อมะเร็ง โดยในแต่ละปีบุหรี่ประมาณ 4.5 ล้านล้านมวนถูกทิ้งลงสู่สิ่งแวดล้อม จัดเป็นขยะที่ถูกทิ้งมากที่สุดและเป็นขยะที่พบบ่อยที่สุดบนชายหาด และในแต่ละปีพื้นที่ประมาณ 1.25 ล้านไร่ทั่วโลกถูกแผ้วถางเพื่อการเพาะปลูกและบ่มใบยาสูบ ดังนั้น มาตรการควบคุมการสูบบุหรี่จึงดีต่อทั้งสุขภาพ เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม

Ricky Moore

Ricky Moore