ชวนอ่าน 3 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ “จีพีเอสติดรถ”

จีพีเอสติดรถ

หลายคนคงทราบกันดีอยู่แล้วว่า “จีพีเอสติดรถ” คืออะไร และทำงานอย่างไรบ้าง เพราะฉะนั้นบทความนี้เลยจะไม่พูดถึงเรื่องเหล่านั้น แต่จะพาทุกคนไปรู้จักกับ 3 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับจีพีเอสที่ติดตั้งในรถยนต์ ที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน

1. จุดที่ดีที่สุดเวลาติดตั้งจีพีเอสคือจุดที่ใกล้แบตเตอรี่

ในคู่มือการติดตั้งจีพีเอสหลายเล่ม อาจแนะนำจุดติดตั้งที่แตกต่างกันไป เช่น คอนโซลหน้ารถ ใกล้ช่องเก็บของ หลังเบาะผู้โดยสาร ใต้พื้นพรม เป็นต้น 

ซึ่งสาเหตุที่เป็นแบบนั้นก็เพราะว่า หลักในการติดตั้งจีพีเอสไม่ได้มีกำหนดไว้ตายตัว มันสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของเจ้าของรถ

แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าอยากให้จีพีเอสทำงานได้ต่อเนื่อง ไม่มีสะดุด ควรเลือกติดตั้งในจุดที่ไม่ห่างจากแบตเตอรี่มากนัก อย่างบริเวณคอนโซลหน้ารถ เพราะการทำงานของจีพีเอสจำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ หากอยู่ไกลเกินไป อาจทำให้กำลังไฟส่งไปไม่ถึง หรือเสี่ยงที่สายไฟจะชำรุดได้ง่าย

2. จีพีเอสติดตั้งได้ในรถทุกประเภท

หลายคนอาจจะคุ้นเคยแค่กับจีพีเอสที่ติดตั้งในรถยนต์ส่วนบุคคล แต่ความจริงแล้ว จีพีเอสยังสามารถติดตั้งในรถยนต์ประเภทอื่นๆ ได้อีกด้วย เช่น รถโดยสารธารณะ รถยนต์ที่ใช้ในงานขนส่ง รถบรรทุกขนาดใหญ่ รถพ่วง ตู้คอนเทนเนอร์ หางลาก รถมอเตอร์ไซค์ เป็นต้น 

ตัวอย่าง

จีพีเอสรุ่น SWR PRO สำหรับรถบรรทุกขนาดใหญ่ 

เป็นอุปกรณ์ติดตามรถที่มีหน่วยประมวลผล 32 บิท ที่แสดงข้อมูลการใช้งานได้แบบเรียลไทม์ และสามารถอ่านข้อมูลได้จากกล่อง ECU ของรถโดยตรง ทำให้ข้อมูลมีความเสถียร แม่นยำสูง รองรับระบบการวิเคราะห์การเกิดอุบัติเหตุด้วย Sec by Sec สูงสุดถึง 16 ไลน์สัญญาณ อีกทั้งยังมีแบตเตอรี่สำรองที่ช่วยให้ใช้งานในการขับรถทางไกลได้อย่างต่อเนื่อง 

ขณะที่ตัวกล่องจีพีเอสทำจากวัสดุพลาสติกโพลีคาร์บอเนต ซึ่งมีคุณภาพสูง น้ำหนักเบา ยืดหยุ่นได้ดี แข็งแรง ทนความร้อน แรงกระแทก และแรงเสียดสีได้ดี เหมาะกับการติดตั้งไว้ในห้องโดยสารที่ต้องเจอทั้งแดด อากาศร้อนจากภายนอก และแอร์จากในรถ

จีพีเอส รุ่น SWI-M สำหรับรถมอเตอร์ไซค์

จีพีเอสรุ่นนี้สามารถติดตามและบันทึกข้อมูลการใช้งานรถ รวมถึงพฤติกรรมการขับขี่ได้อย่างละเอียด และส่งข้อมูลได้แม่นยำ โดยไม่จำเป็นต้องมีเสาสัญญาณ ทำให้ข้อมูลที่ได้สามารถนำมาประมวลผลบนแอปพลิเคชั่นและเว็บไซต์ได้แบบเรียลไทม์ อีกทั้งยังตรวจสอบสถานะเปิด – ปิดเครื่องยนต์ได้ และสั่งดับเครื่องยนต์ได้ทันที เมื่อพบความผิดปกติเกี่ยวกับตัวรถ เช่น ถูกโจรกรรม 

โดยตัวกล่องถูกออกแบบมาให้มีขนาดเล็ก บาง กะทัดรัด ติดตั้งง่าย ไม่กินพื้นที่ แข็งแรง ทนทานสูง กันน้ำและกันฝุ่นละออง IP67 ได้ดี และประหยัดไฟ ใช้พลังงานต่ำ หมดกังวลว่าการใช้งานจีพีเอสจะขาดระยะ เพราะไม่มีแหล่งจ่ายไฟขนาดใหญ่เหมือนรถยนต์

3. กฎหมายกำหนดให้รถบางประเภทต้องติดจีพีเอส

แม้ว่ากฎหมายจะไม่ได้กำหนดให้รถยนต์ส่วนบุคคลทุกคันต้องมีจีพีเอส แต่กับบางรถประเภทไม่ใช่แบบนั้น เพราะกรมการขนส่งทางบกได้กำหนดให้ “รถโดยสารสาธารณะ” และ “รถบรรทุกขนส่ง” บางประเภท ที่จดทะเบียนใหม่ ตั้งแต่ 25 มกราคม 2559 เป็นต้นไป ต้องติดตั้งระบบจีพีเอสขนส่ง 

โดยรถโดยสารสาธารณะที่ต้องติดตั้งจีพีเอสขนส่ง ได้แก่ รถโดยสารสองชั้น รถบัส รถบัส 2 ชั้น รถตู้โดยสาร รถแท็กซี่ รถตู้ (ป้ายเหลือง) ทั้งแบบประจำทาง และไม่ประจำทาง ส่วนรถบรรทุกขนส่งที่ต้องติดตั้งจีพีเอสขนส่ง ได้แก่ รถลากจูง รถบรรทุกขนาดใหญ่ (10 ล้อขึ้นไป) และรถขนส่งวัตถุอันตราย

เป็นอย่างไรกันบ้างกับ 3 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับจีพีเอสติดรถที่เรานำมาฝากกันในครั้งนี้ เราหวังว่าจะทำให้ทุกคนรู้จักจีพีเอสในมุมมองใหม่ๆ กันมากขึ้น และเลือกติดตั้งจีพีเอสได้อย่างเหมาะสม 

ขอคำแนะนำเกี่ยวกับจีพีเอสติดรถเพิ่มเติมได้ที่ https://www.dtc.co.th/ 

Ricky Moore

Ricky Moore